วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

แฉแผนชั่วหมกเม็ด ลากยาว ยื้อยื่นกฤษฎีกา : รู้แต่แกล้งไม่รู้.

แฉแผนชั่วหมกเม็ด ลากยาว ยื้อยื่นกฤษฎีกา : รู้แต่แกล้งไม่รู้.

 

 ........................

- ก่อนหน้านี้ ผมเคยโพสต์ไป ๒ ครั้งว่า.
- การยื่นตีความข้อสงสัยเรื่องกฏหมายนั้น ต้องที่กฤษฎีกา ล่าสุด ดร. วิษณุ เครืองาม ก็ยันว่า .....
"หากรัฐบาลมีข้อสงสัย เกี่ยวกับข้อกฏหมาย ก็จะปรึกษาหรือสอบถามไปที่ คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งมีขั้นตอนอยู่แล้ว"
..................
- ในที่นี้ผมกำลังหมายถึง ในกรณีที่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ไปรับเรื่องร้องเรียนของคุณไพบูลย์ และคณะ.
- ที่ไปยื่นต่อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ตีความกฏหมายสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ (๒๕๓๕) กรณีเสนอนามผู้จะนำขึ้นทูลเกล้า ฯ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสงฆราช.
- โดยจุดสำคัญ ที่แม้แต่ ดร. วิษณุ เองก็ยังว่า ....
"เป็นปัญหา" มันอยู่ ที่วรรค ๒ ของ ม. ๗ พรบ. สงฆ์ ว่า
"ใครจะเป็นฝ่ายเริ่ม ระหว่าง มส. และ นายกรัฐมนตรี".
........................................
- ซึ่งต่อมา ผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็นำไปตีความ และทำการวินิจฉัย กฏหมายสงฆ์ และเลขาธิการ ก็ได้ให้สัมภาษณ์แบบดุดันว่า .......
" ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีอำนาจตีความ และเสนอ และส่งให้นายกรัฐมนตรีไปแล้ว
เพื่อให้นายกรัฐมนตรี ตีกลับ มติ มส. ครั้งนี้ คืนไปยัง มส. หากนายกไม่ดำเนินการตาม ก็จะไปยื่นอภิปรายในสภา"
(ตามสื่อรายงาน).
- ที่กำลังเป็นข่าวรายงานตามสื่ออยู่ในขณะนี้.
.......................
- เรื่องหน่วยงานที่จะตีความเรื่องกฏหมายนี้ ว่าไปแล้ว มันไม่ใช่เรื่องที่คนทั่วไปจะไม่รู้ แม้แต่ชาวบ้านธรรมดา ก็ยังรู้.
- โดยเฉพาะนักกฏหมาย ย่อมรู้ช่องทาง หรือหน่วยงานที่ชื่อว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา นี้ เป็นอย่างดี ว่า มีหน้าที่ในการ ตีความกฏหมาย ของประเทศ.
- ไม่ว่า จะเป็นคุณไพบูลย์ และคณะ ที่ไปยื่น และผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่รับไปตีความ และวินิจฉัย ก็ย่อมรู้เป็นอย่างดี.
..............
- ดังนั้น ทำไมวันนี้ ผมจึงขึ้นหัวว่า
"แผนชั่วหมกเม็ด ลากยาว กฤษฎีกา"
- ก็เพราะว่า ผมมาฉุกคิดว่า.....
"เรื่องง่าย ๆ ขนาดนี้ ทำไม หน่วยงานอิสระใหญ่โต ระดับประเทศ เช่น ผู้ตรวจการ ฯ จึงจะไม่รู้ เป็นไปได้อย่างไร และเมื่อรู้แล้ว แต่ทำไมยังขืนทำ"
..............
- ตรงนี้แหละครับ ผมว่า เป็นเรื่องที่สังคม จะต้องจับตามมอง มองว่า......
"หรือนี่ มันเป็นอีกขบวนการ "ร่วมชั่ว" หรือ พวก "เข้าพวก" เพื่อก่ออันตริยกรรม ทำลายสงฆ์ อีกขบวนหนึ่ง"
................
ถามว่า....
- จะเอากันขนาดนี้หรือ จะเล่นกันสุดโต่งอย่างนี้หรือ จะไม่เหยียบเงา ไม่เผาผีกันไปเลยหรือ.
- หรือ ตายก็ไม่ต้องนำศพมาเข้ามาสวดในวัดกันหรือ.
- ประเทศโดยรวมจะอยู่กันอย่างไร.
- ความั่นคง ความสามัคคี ความเจริญ ไม่คิดกันเลยหรือ.
....................................
- ผมกำลังจะตั้งข้อสังเกตว่า...
- ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะคุณไพบูลย์ ใช่ทำงานแตะมือกันเล่นเกมแตะถ่วงเวลา ในการสถาปนาสมเด็จช่วงนี้ ให้แก่ รัฐบาล
ใช่หรือไม่.
- นั่นคือ...เหมือนกับได้ร่วมกันวางแผนไว้ ๒ ชั้น
ชั้นที่ ๑
- คือทั้งที่รู้ว่า ไม่มีสิทธิ์ในการยื่น เพราะไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรง แต่คุณไพบูลย์ ก็จะยื่น.
- โดยอาจหวังผลว่า ....เผื่อผ่านง่าย ๆ ก็ฟลุ๊กไป.
ชั้นที่ ๒
- คือ ทั้งที่รู้ว่า ไม่มีอำนาจตีความกฏหมายสงฆ์ หรือไม่ได้มีผลบังคับทางกฏหมายใด ๆ.
- แต่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็ออกมารับเรื่อง นำไปตีความ และวินิจฉัย แบบเอิกเกริก (เน้นว่า ...เอิกเกริก.)
- เพราะมีการเผยแพร่คำวินิจฉัยไปทั่วโลก (ย้ำว่าทั่วโลก) เพราะอเมริกา และยุโรป ก็ยังได้รับ.
- ทั้งยังเป็นการได้รับก่อน ก่อนที่ เลขาธิการ ผู้ตรวจ ฯ จะแถลงด้วย (นี้คือ เอิกเริก).
................................
- ในชั้นที่ ๒ นี้ ผมข้อตั้งข้อสังเกต และคำถามไปยัง ผู้ตรวจ ฯ อีกรอบว่า...
- ท่านแน่ใจ หรือตอบใจตนเองได้เต็มที่หรือไม่ว่า ....
"ท่านดำเนินการเรื่องนี้ ด้วยใจบริสุทธิ์ ต่อ พระพุทธศาสนา ต่อคณะสงฆ์ และต่อสังคมไทย".
- หรือว่า การรับเรื่อง นำมาตีความ และวินิจฉัย กฏหมายสงฆ์ ในครั้งนี้ ก็เพื่อมีเจตนาแฝง ดังต่อไปนี้ ใช่หรือไม่ คือ....
๑. หากสำเร็จ ก็จะได้ทำการ ล้ม มติ มส. ครั้งนี้ไปเลย.
๒. หากไม่สำเร็จ ก็จะวางแผนลากยาว ส่งไปให้ คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ หรือ นำไปเสนออภิปรายในสภา หรือ นำไปฟ้องศาลปกครอง (ในส่วนของ ข้าราชการ สำนักพุทธ ฯ).
๓. สุดท้ายแผนทั้งหมด ก็มีเป้าหมายเดียวกัน นั้นก็คือ
"เพื่อสกัด มิให้การแต่งตั้ง สมเด็จช่วง ขึ้นเป็นสังฆราชได้สำเร็จ ตามธง ของคุณไพบูลย์ และคณะ".
.........................
- จึง ขอนำ ทั้ง ๑ ถึง ๓ ข้อนี้ ถาม ต่อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าใช่หรือไม่.
..............................
- ทั้งหมดนี้แหละ ที่ผมว่า แผนชั่ว หมกเม็ด ลากยาว เพื่อ ยื่นกฤษฎีกา รู้แต่แกล้งไม่รู้ ของแก๊งค์ชั่ว อีกแผนหนึ่ง.
- ผมขอยำ้ว่า หมายถึง "แก๊งค์ชั่ว" นะครับ หากใครไม่ชั่ว ก็ย่อมไม่หมายถึงตรงนี้ หรือไม่ใช่สังกัดแก๊งค์นี้ และอย่ามาเดือดร้อนแทนล่ะ.
........................................................
สาระ
ต่อไปนี้ มาถึงจุดสำคัญ และเอาสาระ ประดับปัญญากันครับ.
.......................
ขอย้อนมาที่ กฏหมายสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ (๒๕๓๕)
- ในโพสต์ ก่อน ๆ ผมได้อธิบายมาโดยละเอียดพอสมควรไปแล้ว พร้อมนำเอกสาร มาเทียบให้เห็นด้วยแล้วนั้น.
- แต่คนพาลมันก็มาพาลว่า """" พรบ. สงฆ์นี้ ผมเอามาจากสำนักพิมพ์ไหน""""
- ไอ้บ้าเอ้ย ...สำนักพิมพ์ไหน ก็เหมือนกันทั้งนั้นแหละ ใครมันจะไปบ้า แก้ไขข้อความเองได้
- หากไปแก้ แล้วนำข้อความไม่จริงมาเสนอ ก็บ้าอยู่คนเดียวละซิ พาลจังนะพวกแกนี่.
- ถ้ามาแก้มาเพิ่ม แล้วต่อไปใครเขาจะมาอ่าน มาเชื่อบทความเราหรือ.
- คิดตื้น ๆ ไปได้...ไอ้เวร (ขอด่าหน่อย มันคันปาก).
.................................
วันนี้ ผมจะมาเสนอ ๓ ประเด็นใหญ่ ๆ เพิ่มปัญญากัน ดังนี้ คือ
ประเด็นที่ ๑.
- พรบ. สงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ และ พรบ. สงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไข ๒๕๓๕ หมวด ๑ ม. ๗ วรรคสอง ว่า ....
"ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มี อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้า ฯ เพื่อทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช"
............................
- ตรงนี้ ผมเคยย้ำไปหลายรอบแล้ว และก็ขอย้ำอีกว่า ..
" ในหมวด ๑ ม. ๗ วรรคสอง นี้นั้น
- ไม่ว่าจะเป็น พรบ. สงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ ที่ยังไม่ได้แก้ไข หรือ พรบ. สงฆ์ พ.ศ.๒๕๐ แก้ไข พ.ศ.๒๕๓๕ แล้วนี้นั้น.....
"ถ้อยคำ เนื้อความ ประโยค ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไข ใด ๆ ทั้งสิ้น".
................................
- ชัดเจนตรงนี้ก่อนนะครับ....เพราะพวกชอบไปอ้างว่า ...คราวสมเด็จญาณไม่ใช่ พรบ. ที่แก้นี้.
.................................
- แล้ว พรบ. พ.ศ. ๒๕๐๕ (ที่ข้อความเหมือนกันกับฉบับแก้ไข) ก็ได้ใช้ในการสถาปนา สมเด็จพระญาณสังวร ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ใน ปี พ.ศ.๒๕๓๒ ไปแล้วนั้น.
- จึงขอถามไปยังนายกบิ๊กตู่ รัฐบาล และผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะพวกตีความมั่วว่า....
- ก็ทำไม เมื่อจะนำถ้อยคำ เนื้อความ ประโยคเดียวกันแท้ ๆ นั้น..
- เมื่อจะนำมา เพื่อ สถาปนา สมเด็จ ช่วง แห่งวัดปากน้ำ เป็นสังฆราช ตาม มติ มส. ในครั้งนี้.
- จึงต้องนำมาตีความ และวินิจฉัยกันจนยุ่งไปหมด ยุ่งถึงขนาดจะให้ฆารวาส (นายกรัฐมนตรี) มาตั้งพระให้ปกครองพระ (มั่วสิ้นดี) ละครับ.
- ถ้าเป็นแบบนี้ ในคราวการสถาปนาสังฆราชเมื่อคราว สมเด็จพระญาณสังวร ก็ต้องถือว่า ผิดขั้นตอน ไม่ชอบด้วยกฏหมายไปด้วยใช่มัยครับ.
- ตอบสังคมดี ๆ นะครับ นี่แหละแผ่นดินจะลุกเป็นไฟง่าย ๆ แหละ.
- ผู้เกี่ยวข้องไปตรองกันเอาเอง ตรองดี ๆ ก็แล้วกัน ผมชี้ทางตรงนี้ให้แล้ว.
..............................................
พรบ. สงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ (๒๕๓๕)
หมวด ๑ ม. ๗ ในวรรคสอง
ตรงนีแหละครับ ที่บรรดาพวกหัวหมอได้แย้ง กะจะให้เป็นจุดตายคนอื่น แต่สวรรค์มีตา กลายเป็นจุดตายตัวเองไปได้....
....................
วรรคสอง ระบุว่า...
"ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้า ฯ"
..............
- เป็นวรรคสอง ที่มีปัญหา ซึ่งแม้แต่ ดร. วิษณุ ยังออกปาก.
- ผมว่าใครก็ได้ครับ ช่วยเอาบทความที่ผมกำลังจะแจงต่อไปนี้ ส่งไปให้ ดร. วิษณุแกด้วย รับรองแกจะขอบคุณมากที่เดียว.
.....................
- ประโยคต่อ ประโยค คำต่อคำ
ลึกลงไปถึง รากศัพท์ อย่างละเอียด
จาก ทีมงานเจ้าคุณเบอร์ลิน ที่ล้วนมีภูมิ
ระดับเปรีญ ๙ ประโยค ทั้งสิ้น มาเลยครับ มาเอาความรู้กันต่อ.
...................
- ผมว่า หากบทความนี้ของผม ออกไป .
บรรดาหัวหมอ หรือ แม้แต่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน อาจตายน้ำตื้นก็ได้นะครับ.
- แล้วหาก คณะกรรมการกฤษฎีกา จะเอาไปประกอบพิจารณาก็ไม่ห้ามนะครับ.
.............................
เริ่มเรื่องสำคัญ
- ก่อนอื่น จะต้องยก คำที่อ้างว่า เป็นการตีความ และวินิจฉัย ของ ผู้ตรวจการแผ่นดิน มาอ้างเป็นการตั้งโจทย์ก่อน ดังนี้....
- ในข้อ ๒.๑ เมื่อพิจารณาบทบัญญัติของกฏหมายตามลายลักษณ์อักษรแล้ว
- "ถ้อยคำ" เป็นจุดเริ่มต้นของการตีความ และเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญว่า บทบัญญัติแห่งกฏหมายที่เป็นปัญหานั้น มีความหมายว่าอย่างไร....
(อ่านรายละเอียดที่แนบมาด้วยแล้วนี้)
- .....คำว่า "ให้" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ แปลความหมายว่า มอบ อนุญาต เป็นคำ กริยา "บอกความบังคับ" จึงเป็นการ "ให้อำนาจ แก่ผู้ที่กำลังจะกล่าวถึง".
- จากรูปประโยค .....
- "ให้นายกรัฐมนตรี.." (คือ) มีนายกรัฐมนตรีเป็นภาคประธานของโยค.
- "โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม .." (คือ) เป็นบทขยายประธานของประโยค.
- "เสนอ" (คือ) เป็นคำกริยาของภาคประธาน.
- "นามสมเด็จพระราชาคณะ" (คือ) เป็นกรรม.
- " ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์" (คือ) เป็นส่วนขยายกรรม.
......................................................
เมื่ออธิบายถึงตรงนี้
- ผู้ตรวจการสรูปว่า..
...................................................
- "ถ้าแปลตามรูปประโยค พรบ. สงฆ์ ฉบับนี้ คือ......
"ให้อำนาจนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ โดยมหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ความเป็นผู้เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มี อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ตามนายกรัฐมนตรีเสนอนาม"
"เมื่อมหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบแล้ว นายกรัฐมนตรี จึงเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ นำขึ้นทูลเกล้า ฯ พระมหากษัตริย์สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช."
............................................
- ทั้งหมดนี้ เป็นข้อ ๒.๑ ของคำวินิจฉัย ฉบับเต็ม ของ ผู้ตรวจการ ฯ.
- ดูเหมือนน่าจะเป็นอย่างนั้น แต่ความจริง ไม่ใช่เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างไร ตามมาอย่ากระพริบตา..
...................
- ส่วนความฮา ที่ ผู้ตรวจการ ฯ บอกในข้อ ๒.๒ ต่อไปนั้น ผมว่า น่าจะฮามากกว่า ข้อ ๒.๑ เพราะดันไปบอกว่า..
"ถ้าตีความหมาย นอกจากนี้ คือ ให้นายรักฐมนตรี รับรายชื่อที่ มส. ส่งมาอย่างเดียว และนำขึ้นทูลเกล้า ฯ นั้น ....
- "เป็นไปไม่ได้ .....จะก่อผลให้แปลกประหลาด ....เพราะนายกรัฐมนตรี จะต้องเซ็นรับพระบรมราชโองการด้วย...."
..............
"ฟังคำวินิจฉัยตรงนี้แล้ว ผมอยากกระเข็กกระโหลกคน เขียนคำวินิจฉัยตรงนี้ จริง ๆ ครับ" (ขออภัยอารมณ์มันพาไป).
................................
- เพราะ หากพูดงี้ ถามว่า ก็แล้วเมื่อคราว สถาปนา สมเด็จญาณสังวร ซึ่งเป็นเช่นนี้ ทุกประการ ไม่มีอะไรแตกต่างกันใด ๆ เลย นั้น.
- จะว่ากันอย่างไงดีละครับ จะว่านี่ แปลกประหลาดด้วยว่างั้นเหอะ.
- หรือ จะให้รัฐบาล "ไปทำการรื้อฟื้น การสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร ขึ้นมาสถาปนาใหม่กันหรือครับ" เอางั้นหรอ.
- กรรมของประเทศจริง ๆ ครับ ทำงานกันแบบนี้.
..................................
- ตามความในข้อ ๒.๑ ที่ผู้ตรวจการ ฯ ตีความ และวินิจฉัยออกมานั้น.
- ผมอ่านครั้งแรก นึกในใจ งานนี้ ท่าทางเราจะแก้ยากเสียละมั้ง เล่นแยกประโยคแบบนี้.
.................
- แต่เหมือนสวรรค์มีตาครับ เทวดารักษาพระศาสนาแท้ ๆ.
- เพราะทีมงานประโยค ๙ ของผม บอก
- สบายมากอาจารย์เจ้าคุณ ทีมผมจะแก้ตรงนี้ให้ เพราะรากศัพท์ภาษา ของไทยเรา ที่ใช้ทางราชการทางกฏหมาย ราชาศัพท์นั้น ล้วนมาจาก บาลี สันสกฤต ๘๐ - ๙๐ เปอร์เซ็น.
- สุดท้ายแล้วก็นี้เลยครับ....แจ่มแจ้งแดงแจ๋ไปเลย มาดูกันจะจะ แจ้ง ๆ ดังนี้....
..............................
ทีมงานประโยค ๙ ผม แก้ว่า...
- ไม่ต้องไปเปิดพจนานุกรมให้เสียเวลา มาเลยจะอธิบายให้ฟัง ตามหลักไวยากรณ์ ทั้งภาษาไทย และภาษาบาลีว่า...
- ข้อความในวรรคสอง ที่ว่า...
"ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุด โดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้า ฯ.."
- อธิบายในแง่หลักภาษ และความจริง ดังนี้..
- ข้อความนี้เป็นภาษาไทย เรียกว่า "เป็นกริยาวลี" ที่มี "นามวลี" เป็นบทขยาย.
- ถ้าจะจัดเป็นประโยค เรียกว่า สังกรประโยค.
- ในภาษาบาลีท่านเรียกว่า ประโยค ย ต (อ่านว่า ยะ ตะ).
..................
- นั่นคือ ประโยคใหญ่ ที่มี ประโยคย่อยเป็นตัวขยาย.
- ดังนั้น ข้อหรือ ถ้อยคำ ความว่า...
- "ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มี อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้า ฯ" นั้น.....
- ตรงนี้เป็นประโยคใหญ่ อาจเรียกว่า เป็น "กริยาวลี" ก็ได้ครับ.
- ส่วน "โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม"
ตรงนี้เป็นประโยคขยายรับ ที่เรียกว่า "นามวลี".
.......................
- ในประโยคที่ขยายว่า ....
"โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม" นั้น
- เป็นคำที่ใช้ในกฏหมายสงฆ์ เท่านั้น (ย้ำว่าเท่านั้น มีแจ้งในช่วงท้าย).
- ซึ่งจะต้องใช้หลักไวยากรณ์บาลีมาจับ จึงจะได้วามชัดเจนว่า ตัวไหนขยายตัวไหน ในฐานะอะไร.
- ซึ่งจะได้ขยักไว้รอดูคำวินิจฉัย ของ ผู้ตรวจการ ฯ ฉบับจริง ที่ส่วเสนอนายกรัฐมนตรี เสียก่อน จะได้จับตายกันตอนนั้นครับ.
.............................................
- ดังนั้น ถ้าแปลตามหลักบาลี ตามประโยค ยะ ตะ ข้างต้น .
- ซึ่งประโยค ยะ ตะ นี้ นักเรียนบาลีเข้าใจกันทุกคน.
- ซึ่งจะได้ความอย่างชัดเจน ดังนี้ ว่า...
" มหาเถรสมาคม เห็นชอบ ชื่อสมเด็จพระราชาคณะ รูปใด นายกรัฐมนตรี จงนำ ชื่อสมเด็จพระราชาคณะรูปนั้น แล้วเสนอ"
- นี่คือ ถ้อยคำที่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง ของรากศัพท์ ของ ประโยคที่ถูกต้อง ตามหลักไวยากรณ์บาลี ของกฏหมายสงฆ์ครับ.
- ซึ่งมีความละเอียดและลึกซึ้งในรูปคำ และความหมายที่เกินจะมาตีความง่าย ๆ แบบสุกเอาเผากินกันได้.
- ประโยค ยะ ตะ นี้ ทีมงานผม คงไม่ต้อง "แปลไทย เป็นมคธ" ไปให้ผู้ตรวจการไปแปลเป็นไทยอีกทีนะครับ .....ฮา หน่อย.
.............................
- แจ่มมัยครับตรงนี้.
- ใครก็ได้ช่วยเอาบทความผมตรงนี้ไป ให้ ดร. วิษณุแกดูด้วยครับ เชื่อว่าแกจะต้องดีใจ.
- หรือคณะกรรมการกฤษฎีกา จะเอาไปพิจารณาก็ไม่ห้ามครับ.
- เพราะนี่คือ ของจริงครับ ของไม่จริง มีอยู่แถว ๆ นครปฐมนะแหละครับ (สักหน่อย).
.................................
สรูปสุดท้าย สั้น ๆ ว่า
- นี่คือ ถ้อยคำ ที่เป็นความจริง ของ พรบ. สงฆ์ ที่จะอาศัยเพียงความรู้ตื้น ๆ หรือแค่สามัญพื้น ๆ มาตีความส่งเดชไม่ได้.
- หากปล่อยคนที่ไม่มีความรู้แท้จริิง มาตีความ ตีคลุม ย่อมเกิดผลเสียหายใหญ่หลวงตามมาในทุก ๆ ด้านอย่างแน่นอน.
- ถึงตรงนี้ เราจะเห็นได้ถึง กุศลเจตนาป้องภัยพระศาสนา ของท่านบูรพาจารย์.
- ที่เป็นพระมหาเถระระดับเปรียญ ๙ ประโยค ของ หลวงปู่หลวงพ่อ รุ่นครูบาจารย์ ที่เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมยุคนั้น.
- อันมี สมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธาน ที่ได้ร่าง พรบ. สงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ (๒๕๓๕) ฉบับนี้ขึ้นมา เพื่อความมั่นคงพระศาสนา.
- เป็นไปด้วยกุศโลบายที่ลึกซึ้ง ยากที่มนุษย์กิเลสหนา อย่างพวกอันธพาล จะเข้าใจได้ครับ.
- ภูมิความรู้เช่นนี้นั้น ต่อให้ผู้เชี่ยวชาญทางโลก ระดับไหนก็ตาม หากไม่ได้ศึกษา บาลีชั้นสูงมาก ย่อมไม่เข้าใจแน่นอน.
- ต่อให้ให้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตายแล้วเกิดมาใหม่ก็ตาม.
- บางครั้ง ผมก็นึกอยากจะยุส่งให้ พวก "เข้าพวก" เหล่านี้ (ไม่ได้เจาะจงว่าใคร).
- เห็นมันพยายามทำชั่วกันนัก
- ยุส่งให้มันทำกัน "สุด ๆ เร็ว ๆ" ไปเลย.
- เพื่อที่ อะไรต่ออะไร มันจะได้เร็ว ๆ กันสักทีครับ.
- ห้ามแล้วนี่ว่า "นรก ๆ" อยากดื้อ อยากรั้นกันดีนัก.

โชคดีมีชัยทุกท่านครับ
เจ้าคุณเบอร์ลิน
09.03.2016


1 ความคิดเห็น: