วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

เจ้าคุณเบอร์ลิน ยก พรบ. สงฆ์ เปรียบเทียบ พรบ. อิสลาม แจงละเอียดยิบ ปมตั้งประมุข : พร้อมร้องให้ผู้ตรวจการแสดงความจงรักภักดี / รับผิดชอบต่อคำวินิจฉัย มติ มส.

เจ้าคุณเบอร์ลิน ยก พรบ. สงฆ์ เปรียบเทียบ พรบ. อิสลาม แจงละเอียดยิบ ปมตั้งประมุข : พร้อมร้องให้ผู้ตรวจการแสดงความจงรักภักดี / รับผิดชอบต่อคำวินิจฉัย มติ มส.

 ...........................

- มาว่ากันเลยครับ เอาตรง ๆ ชัด ๆ จะ ๆ แบบไม่ต้องอ้อมค้อม หรือรำมวยนาน ตามสไตร์เจ้าคุณเบอร์ลินกันเลยครับ.
..................
- กรณีผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งประธาน ก็คือ คุณ ศรีราชา วงศารยางกูร และคณะทั้งหมดก็คงปฏิเสธว่า ไม่เกี่ยวข้องไม่ได้.
- กับการที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ออกมารับคำร้องเรียน ของคุณไพบูลย์ นิติตะวัน และพวก.
- ที่ได้เข้ายื่นให้ตีความ พรบ. สงฆ์ ๒๕๐๕ (๒๕๓๕) ม. ๗ หมวด ๑ ว่าด้วย การเสนอรายนามสมเด็จพระราชาคณะผู้อาวุโสโดยสมณศักดิ์ ขึ้นทูลเกล้า ฯ เพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั้น ...ว่า.....
"ระหว่าง มส. และนายกรัฐมนตรีนั้น ใคร ที่จะเป็นฝ่ายริเริ่มก่อน ในเสนอรายนาม ตามกฏหมายข้อนี้".
- ซึ่ง ณ วันนี้ สื่อรายงานทั่วไปว่า คุญรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็ได้ออกมาแถลงคำวินิจฉัย นี้ไปแล้ว.
.....................................
- ตรงนี้อยากให้ย้อนกลับไปอ่านทบทวนโพสต์ล่าสุดว่า ดร. วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
ผู้ดูแลกฏหมายทั้้งหมดของรัฐบาลปัจจุบัน ว่า
ท่านได้พูดถึง กรณีนี้อย่างไรบ้าง ซึ่งผมจะไม่ขอนำมากล่าวย้อนให้เสียเวลาอีก.
- จากนั้น ก็มาอ่านต่อเนื่องโพสต์นี้ไปเลย ข้อมูลจะได้สมบูรณ์ขึ้น.
- ส่วนข่าวตามสื่อนั้น ผมจะไม่นำมาเสนอตรงนี้อีกนะครับ เดียวจะเสียพื้นนี้ไป ขอโยงเฉพาะที่สำคัญนะครับ.
................
ก่อนอื่น เพื่อตอกย้ำไม่ให้สังคมสับสน ถูกพวกพาลหลอกตีกินอีก
ผมจะต้องขอแทรกก่อน ตรงจุดสำคัญต่อกรณีีนี้ ตรงนี้อีกครั้ง คือ.
- จะขอยกคำพูด ของ ท่าน ดร. วิษณุ เครืองาม ที่พูดถึง การวินิจฉัย มติ มส. ครั้งนี้.
- ที่ท่าน ดร. วิษณุ ต้องการสื่อตรง ๆ ต่อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน.
- โดยผมจะย้ำมาให้ฟังกันชัด ๆ เต็มสองหูไปเลย อีกครั้งนะครับ ดังนี้....
๑. ให้เสนอมา แต่อย่าชี้แนะ.
๒. ย้อนถามกลับไปว่า ทำไม มส. ต้องประชุม เพื่อลงมติเรื่องนี้ใหม่.
๓. ใครบอกว่า ผิด.
๔. ถ้าหากผู้ตรวจการแผ่นดินทักท้วงมา เราก็อาจจะฟัง (อาจจะ) แต่จะทำอย่างไรต่อ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง.
๕. เรื่องนี้เป็นเพียงข้อสังเกตของท่าน.
๖. แล้วอย่ามาถามรัฐบาลว่า ไม่รู้หรือว่าผิด.
๗. เพราะจนวันนี้ ก็ยังไม่รู้เลยว่า ที่ผ่านมานั้นผิด.
๘. ซึ่ง (หากมี) ปัญหา (ในข้อกฏหมาย) ต่าง ๆ ถ้ารัฐบาลสงสัย ก็จะสอบถามไปยัง คณะกรรมการกฤษฎีกา เพราะมีขั้นตอนอยู่แล้ว.
.................................................................
- ทั้ง ๘ ข้อนี้ ล้วนเป็นคำพูดของ ดร. วิษณุทั้งหมด โดยที่ผมไม่ได้ต่อเติมเสริมแต่งใด ๆ ทั้งสิ้น
- ชัดเจนนะครับ ช่วยกันบันทึกไว้เลยครับคำพูดนี้.
...........................................
- มาวันนี้อีก นสพ. ไทยรัฐ ได้สรูปคำสัมภาษณ์ ของ คุณรักษเกชา เลขาธิการ ผู้ตรวจการ ฯ ว่า ......
" ....แต่เราตีความข้อกฏหมายว่า ดำเนินการถูกต้องหรือไม่"
...........................................
- อ้าว....ท่านเลขาธิการ ทำไมถึงพูดแบบนี้ละครับ.
- หรือนี่คุณสังกัดคนละรัฐบาลกับท่าน ดร. วิษณุหรือไง ก็เขาบอกชัด ๆ ไปแล้วว่า ....
"หากมีปัญหา รัฐบาลเขาจะสอบถามไปยัง คณะกรรมการกฤษฎีกา เพราะมีขั้นตอนอยู่แล้ว".
- นี่ก็ต้องบอกว่า สมควรแล้ว ที่จะถูกคณะสงฆ์ล่ารายชื่อเอาผิดเนื่องจากไม่มีอำนาจรับเรื่อง น่าเศร้าจริง ๆ ข้าราชการแบบนี้.
...............
เกริ่นเรื่องไปแล้ว...........
ตามมาดูยาแรงของผมวันนี้กันเลยครับ.
- วันนี้ผมจะแจงให้ละเอียดยิบไปเลย เอากันจะ ๆ กันเลยครับ.
- รับรองว่า ถ้า ผู้ตรวจการแผ่นดิน กินยาขนาดนี้เข้าไปวันนี้แล้วละก็.
- ถ้ายังมียางละอายอยู่บ้าง โดยไม่ต้องไปอ้างคุณธรรมสูงกว่านี้ หรือรอให้พระสงฆ์ล่ารายชื่อมาไล่หรอก
- ผมว่า น่าจะต้องพิจารณาตัวเองทันทีเลยแหละครับงานนี้.
..............................
สาระสำคัญ............
- วันนี้ ผมจะอาสานำพาพุทธศาสนิกชน ผู้มีใจเป็นธรรม และรักพระพุทธศาสนาทุกท่าน.
- ได้ไปพิจารณาสาระสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ มีอยู่ เป็นอยู่ และเกิดอยู่ ในแผ่นดินเดียวกัน.
- แต่ทำไม แตกต่างกันในการปฏิบัติ ชนิดไม่น่าเชื่อกันครับ.
- โดยผมจะขอแยกเป็น ๔ หัวข้อใหญ่ ๆ ดังนี้ คือ....
หัวข้อที่ ๑.
- เปรียบเทียบกัน คำต่อคำ ประโยคต่อประโยค ระหว่าง
- พรบ. สงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ (๒๕๓๕) หมวด ๑ ม. ๗ การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช.
- พรบ. การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ หมวด ๑ บททั่วไป "การแต่งตั้งจุฬาราชมนตรี"
................
ข้อเปรียบเทียบ....
หัวข้อที่ ๑.๑ พรบ. สงฆ์
- พรบ. สงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ และ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไข ๒๕๓๕ ทั้ง ๒ พ.ศ. ได้เขียนไว้เหมือนกันอย่างชัดเจนว่า...
- หมวด ๑ สมเด็จพระสังฆราช มาตรา ๗ (ตามภาพที่แนบมา)
"พระมหากษัตริย์ ทรงสถาปนา สมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง ในกรณีที่ตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราชว่างลง
ให้ (เน้น ๑ - ผู้เขียน) นายกรัฐมนตรี (เน้น ๒ - ผู้เขียน) โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม (เน้น ๓ - ผู้เขียน)
เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุด โดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้า ฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช.."
หัวข้อที่ ๑.๒ พรบ. สงฆ์
- เมื่อ ๕ มกราคม ๒๕๕๙ มหาเถรสมาคม หรือ มส. ได้ยึดพระธรรมวินัย กฏหมาย และจารีต.
- ได้มี มติ มส. อย่างเป็นเอกฉันท์ เพื่อเสนอรายนาม สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ช่วง วัดปากน้ำ กทม. ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช โดย พศ. ได้นำเสนอไปยังนายกรัฐมนตรี นำขึ้นทูลเกล้า ฯ เป็นลำดับไป.
- การดำเนินการของ มส. แล้วลงมติในเรื่องนี้ ได้ถูกต้องครบถ้วนทุกอย่าง ตามข้อ เน้น ๑ เน้น ๒ และเน้น ๓ ของผู้เขียนที่แจ้งในข้างต้นแล้วนั้น.
...............................................
- ตรงนี้ ผมขอให้ท่านผู้อ่าน โปรดจำตรงคำว่า เน้น ๑ เน้น ๒ และเน้น ๓ ตรงนี้ของไว้ดี ๆ นะครับ.
- แล้วท่านจะไปแจ้งสว่าง ที่ พรบ. ศาสนาอิสลาม ที่ผมจะนำไปเปรียบเทียบต่อไปข้างล่างนี้ครับ.........
.......................................................................
- การที่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ออกมารับเรื่องร้องเรียนจาก จากคุณไพบูลย์ นิติตะวัน และคณะ เพื่อวินิจฉัย มติ มส. ในครั้งนี้.
- และได้มีคำวินิจฉัยไปแล้ว (ดังปรากฏตามสื่อจาก คุณรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิกา) ว่า ...
"มส. ดำเนินลงมติ ครั้งนี้ ผิดขึ้นตอน ไม่ชอบด้วยกฏหมาย"
- และได้วินิจฉัยตีความ มติ มส. ในครั้งนี้ แล้วเสนอไปยังนายกรัฐมนตรี ว่า .....
"ตามข้อกฏหมายนี้ นายกรัฐมนตรี จะต้องเป็นผู้เริ่มในกระบวนการนี้ คือ...
" เป็นผู้เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์ ไปยัง มส.
- จากนั้น มส. จึงจะสามารถทำการประชุม และลงมติได้ แล้วก็ให้เสนอย้อนมาให้นายกรัฐมนตรี อีกรอบหนึ่ง เพื่อนำขึ้นทูลเกล้า ฯ ต่อไป"
- ในวงเล็บนี้ คือ คำวินิจฉัย ของ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ในครั้งนี้.
......................................................................................
.........พักสายตา แล้วค่อย ๆ อ่านต่อนะครับ..............
.....พยายามอ่านนิดครับ เป็นยาป้องกันพวกแก็งค์ชั่วแหกตา......
.......................................................................................
ต่อ.....
- ในคำวินิจฉัยของ ผู้ตรวจการแผ่นดินในครั้งนี้ ถือว่า มีความพิศดาร และแปลกประหลาดมาก เป็นอย่างไง....
- ก็เพราะว่า ท่าน รองนายก ดร. วิษณุ เครืองาม ได้กล่าวอย่างชัดเจนแล้วว่า..
"ไม่น่าจะเป็นคำวินิจฉัย แต่น่าจะเป็นข้อสังเกตมากกว่า"
และ ดร. วิษณุ ยังกล่าวย้ำอีกว่า .....
"หากรัฐบาลมีข้อหรือปัญหาเกี่ยวกับกฏหมาย จะสอบถามไปยัง คณะกรรมการกฤษฎีกา เพราะมีขั้นตอนอยู่แล้ว"
- นั่นหมายความว่า....
- ผู้ตรวจการแผ่นดิน ไม่มีอำนาจที่จะรับคำร้องเรียนนี้ จากผู้มาร้องเรียน.
- ทั้งยังไม่มีอำนาจตีความ และวินิจฉัยเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว.
- แต่เลขาธิการ คุณรักษเกชา ก็ยัง ย้ำเหมือนกับสังกัดคนละรัฐบาลว่า "ได้ตีความ และวินิจฉัยไปแล้ว".
- สุดท้าย ก็ยังไม่ทราบว่า เรื่องนี้ ถึงรัฐบาลหรือยัง และรัฐบาลจะทำอย่างไรต่อไป.
......................................................................................
หัวข้อที่ ๒
- จุดสำคัญมาอยู่ตรงนี้ครับ ผมจะพาทุกท่านไปดูชัด ๆ กับ พรบ. การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.๒๕๔๐ กันครับ.
- รับรองถ้าได้ อ่านโพสต์ เจ้าคุณเบอร์ลิน นี้แล้ว ทุกท่าน จะแจ้งสว่างกันเลย จะถึงบางอ้อ ยันบางจาก (จากตำแหน่ง) กันเลยครับ.
- และหากอ่านแล้วก็ให้นัดกัน ช่วยกันแบก พรบ. ของ ศาสนาอิสลามฉบับนี้.
- ไปโยนใส่หน้า ผู้ตรวจการแผ่นดิน ชี้ให้ท่าน (แหกตา) ดู และให้ดำเนินการช่วยทำการตีความ และวินิจฉัย เหมือนที่มาตีความ และวินิจฉัย พรบ. สงฆ์ ในครั้งนี้ด้วย.
- แล้วก็ ถามท่านผู้ตรวจการ ฯ ด้วยว่า เมื่ออ่านจนจบ โพสต์ของเจ้าคุณเบอร์ลิน นี้แล้ว
"มีเหตุผลอันใดหรือ ที่ทำให้ท่านหน้ามืดมาวินิจฉัย มติ มส. ครั้งนี้ เช่นนี้ และก็ขอให้ท่าน นำ พรบ. การบริหารองค์กร ศาสนาอิสลาม พ.ศ.๒๕๔๐ นี้ นำไปตีความ และวินิจฉัยด้วย" หลังอ่านโพสต์นี้จบแล้วด้วย.
- พวกกท่านทราบหรือไม่ว่า เรื่องศาสนานี้ เรื่องใหญ่มากนะครับ.
- หากแจ้งชัดขนาดนี้แล้ว ยังไม่รู้สึกรู้สาอะไร ก็อย่ามานั่งกินเงินภาษีชาวพุทธตรงนี้เลยครับ "มันบาป" ครับ.
- ผมไม่ได้พูดหาเรื่อง หรือพูดส่งเดช มาดูกันจะ ๆ กันเลย ครับ..
.....................................
......ความรู้สำคัญ ....
หัวข้อที่ ๓
- พรบ. การบริหารองค์กร ศาสนาอิสลาม พ.ศ.๒๕๔๐
ก่อนอื่น ขอแจ้งให้ทราบว่า.......
- หลังจากประกาศใช้กฏหมายดังกล่าวไม่นาน นายประเสริฐ มะหะหมัด จุฬาราชมนตรีในขณะนั้น ได้ถึงแก่อนิจกรรม.
- และผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นจุฬาราชมนตรี คนต่อมาคือ นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ ขณะมีอายุได้ ๘๒ ปี เศษ.
- ซึ่งถือว่าเป็น จุฬาราชมนตรี คนแรก ที่ได้รับการเลือกตั้งตามกฏหมายฉบับนี้ (พ.ศ.๒๕๔๐) โดยดำรงตำแหน่งจนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓.
- และวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๓ ที่ประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศ ได้มีมติให้
- นายอาศิส พิทักษ์คุมพล เป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่ง จุฬาราชมนตรีต่อจากนายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์
- และได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็น จุฬาราชมนตรี คนที่ ๑๘ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓.
.......................
ข้อสังเกตตรงนี้ คือ .....
- ที่ประชุมคณะกรรมการอิสลาม ฯ ได้มีมติให้แก่ นายอาศิส เป็นเบื้องต้นก่อนขั้นแรก.
- จากนั้น จึงดำเนินการกระบวนการเพื่อโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งต่อไป.
""จำข้อสังเกต และขั้นตอนตรงนี้ดี ๆ ไว้ นะครับ""""""
..........................
- จากนั้นต่อมา ขอให้ทุกท่านมาดูรายละเอียด พรบ. การบริหารองค์กร ศาสนาอิสลาม พ.ศ ๒๕๔๐ (รัฐบาล พล.อ. ชวลิต).
- ใน หมวด ๑ บททั่วไป ของ พรบ. นี้ ใน ๓ บรรทัดแรก เขียนไว้ว่า.....
(อ่าน และจำไว้ดี ๆ นะครับ แล้วผมจะนำไปเปรียบเทียบกับ พรบ. สงฆ์ ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินตีความ และวินิจฉัย)....
บรรทัดที่ ๑......
- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง จุฬาราชมนตรีคนหนึ่ง เพื่อเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย.
บรรทัดที่ ๒ .......
- ให้ (เน้น ๑ - ผู้เขียน)
- นายกรัฐมนตรี (เน้น ๒ - ผู้เขียน) นำชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง จุฬาราชมนตรี.
- ซึ่งได้รับความเห็นชอบ จากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศ (เน้น ๓ - ผู้เขียน).
ขึ้นทูลเกล้า ฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็น จุฬาราชมนตรี ฯ.
(ดังเอกสารที่แนบมาด้วยแล้วนี้).
........................................
- และตามกฏหมายฉบับนี้ ปัจจุบัน นายอศิส พิทักษ์คุมพล ก็ได้รับการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็น จุฬาราชมนตรี ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว.
............................................................
......ความรู้สำคัญ.......
ข้อที่ ๔
- จุดสำคัญที่สุด ในการเปรียบเทียบ
๔.๑ ขอให้ท่านผู้ตรวจการแผ่นดิน และชาวพุทธทั่วโลก (พวกแถไม่ต้องมาอ่านก็ได้)
- จงไปนำคำที่ผม คือ ผู้เขียน ได้ วงเล็บไว้ว่า.....
- เน้น ๑ คือ ให้.
- เน้น ๒ คือ นายกรัฐมนตรี.
- เน้น ๓ คือ ด้วยความเห็นชอบของ.. (ต่อท้ายด้วยองค์กรที่เกี่ยวกับ พรบ. ทั้ง ๒ ฉบับ).
- ไปเปรียบเทียบกันระหว่าง พรบ. ทั้ง ๒ ฉบับนี้ มันเหมือนกัน และแตกต่างกันไงครับ.
๔.๒ ถึงบางอ้อ หายงงหรือยังครับ นั่นก็คือ .....
"ทุกถ้อยคำ ทุกคำศัพท์ ทุกประโยค (เน้น ๑ -๓) ไม่ปรากฏว่ามีความแตกต่างกันใด ๆ ทั้งสิ้น ใน พรบ. สงฆ์ และ พรบ. อิสลามครับ".
๔.๓ จึงเป็นอันสรูป และยุติ ได้ว่า ....
- การเสนอนาม ผู้ที่จะนำขึ้นทูลเกล้า ฯ โปรดแต่งตั้งเป็นประมุของค์กรนั้น
- กระบวนการจะต้องเริ่มที่ องค์กรนั้น ๆ มีมติเอกฉันท์ ออกมาป็นเบื้องต้นเสียก่อน.
- จากนั้น จึงมานายกรัฐมนตรี และเป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้า ฯ ต่อไป.
- ย่อมหาใช่เริ่มที่นายกรัฐมนตรี ดังที่ ผู้ตรวจการแผ่นดินตีความ และวินิจฉัยออกมาไม่.
- ดังเช่น ตัวอย่าง โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง นายอศิส เป็น จุฬาราชมนตรี เป็นต้น".
..........................................................
- ถึงตรงนี้ พวกเราชาวพุทธทุกท่านที่อ่านโพสต์นี้แล้ว.....
- ผมอยากจะให้ช่วยกัน กอปปี้ พรบ. องค์กรศาสนาทั้ง ๒ ฉบับนี้.
- ไปโยนใส่หน้าถาม ผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ดูชัด ๆ และแจ้งหน่อยได้มัยครับว่า
"มันมีตรงไหน ที่แตกต่างกันบ้าง" .
๔.๓ ถ้าจะมาตีความ และวินิจฉัย มติ มส. อย่างที่ออกมาในครั้งนี้ ในตรรกะเดียวกันนี้ เหมือนกันทุกอย่างนี้.
- ขอถามว่า แล้วที่โปรดเกล้า ฯ นายอศิส เป็นจุฬาราชมนตรีไปแล้ว ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นี้ นั้น.
- ท่านผู้ตรวจการแผ่นดิน จะทำอย่างไร จะแก้อย่างไร ผิดขั้นตอน หรือไม่ชอบด้วยกฏหมายด้วยหรือไม่ครับ.
- ข้อนี้ ต้องยกให้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตอบ และแก้ไขเองนะครับ.
- หากตอบไม่ได้ แก้ไม่ได้ จะไปทำอะไร กับอนาคตตัวเอง ก็ไปคิดเองครับ .
- แต่อยากจะบอกว่า อันเงินภาษีรายเดือนที่กินทุก ๆ เดือน ที่เป็นของชาวพุทธส่วนใหญ่ นี้.
- พวกท่านกินอิ่มนอนหลับสบายดีกันอยู่ใช่มัยครับ (หมดคำพูด).
..............
สรูป
- ในนามของตัวแทนองค์กรเครือข่าย ชาวพุทธทั้งใน และต่างประเทศทั่วโลก มีความรู้สึกร่วมกันว่า .....
- การตีความ และวินิจฉัย มติ มส. การสถาปนาสังฆราช ของ คณะสงฆ์ไทย ของผู้ตรวจการแผ่นดินในครั้งนี้.
- ชาวพุทธทุกคน มีความรู้สึกได้ว่า ได้ถูก ผู้ตรวจการแผ่นดิน กระทำการ กลั่นแกล้ง รังแก ริดรอน ละเมิดสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน ของความเป็นมนุษย์ตามหลักสากล ในการเลือกนับถือศาสนาตน.
- และรู้สึกผิดหวัง และอดสู จากการดำเนินการ ของ ผู้ตรวจการแผ่นดินในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง
- ที่แสดงการก้าวล่วง ไม่มีสัมมาคารวะต่อพระพุทธศาสนา และต่อองค์ประมุขสงฆ์ผู้ปฎิบัติหน้าสมเด็จพระสังฆราช ตามธรรมเนียม ประเพณีอันดีงาม ของไทย.
.....................
ดังนั้น สุดท้ายนี้ ในนามองค์กร เครือข่าย ชาวพุทธทั้งใน และต่างประเทศ
จึงร่วมกันขอเรียกร้องให้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน และหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง ในเบื้องต้น ดังนี้
๑. ขอให้คณะผู้ตรวจการแผ่นดิน จงได้พิจารณาตนเอง และ จงแสดงความ รับผิดชอบ ที่เป็นรูปธรรม ต่อการดำเนินการที่ผิดพลาดมหันต์ในครั้งนี้ โดยทันที.
๒. ในเบื้องต้น ขอเรียกร้องให้ คณะผู้ตรวจการแผ่นดิน จงได้แสดงออกที่เหมาะสม อันควรแก่ฐานะของตน. .....
- เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดี ่ต่อองค์พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะ และเป็นองค์ศาสนูปถัมภก ตามรัฐธรรมนูญ ต่อกรณีนี้ โดยทันที.
๓. องค์กรเครือข่ายชาวพุทธทั้งใน และต่างประเทศ จะได้ร่วมกันติดตาม และ ดำเนินการต่อ คณะผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือต่อหน่วยงานรัฐบาล ที่ส่อว่าจะเป็นภัยต่อพระพุทธศาสนา อย่างเหมาะสม ตามกฏกติกาสากลต่อไป.

โชคดีมีชัยทุกท่าน
เจ้าคุณเบอร์ลิน
06.03.2016
แนบเอกสารสำเนา
- พรบ. สงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และ พ.ศ.๒๕๐๕ (๒๕๓๕)
- พรบ. การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.๒๕๔๐.







18 ความคิดเห็น:

  1. สึกออกไปเป็นโต๊ะอิหม่ามเถอะถ้าจะเอาอย่างนั้นหนะ
    พากันสึกไปเสียให้หมดแล้วก็ไปเลือกไปแต่งตั้งกันให้ตามสบายเลยนะจ๊ะนะจ๊ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. พระท่านก็เปรียบเทียบให้ฟังว่าเป็นอย่างไร ท่านพูดถูกแล้ว ชัดเจน ถึงจะไม่ถูกใจใครบางคนก็ตาม

      ลบ
    2. ลดอคติ มองใจที่เป็นธรรม

      ลบ
    3. พระท่านเปรียบเทียบได้ชัดเจนที่สุดแล้ว อย่ามีอคติมากนักเลย

      ลบ
  2. หลักการที่เปรียบเทียบก็แจ้งชัด มันก็คือหลักเดียวกัน ใครหนอช่างแถนัก น่าสงสารเล่นงานผู้บริสุทธิ์ กรรมหนักซะแล้วล่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ศาสนาไม่กินหมูลอกเอามาจากพุทธชัดๆ

      ลบ
  3. ชัดเจนแจ่มแจ้ง ผู้ตรวจการฯอย่าตะแบง อายจังเลยค่ะ

    ตอบลบ
  4. ชัดเจนแจ่มแจ้ง ผู้ตรวจการฯอย่าตะแบง อายจังเลยค่ะ

    ตอบลบ
  5. ชัดเจนแจ่มแจ้งมากค่ะท่านเจ้าคุณเบอร์ลิน

    เหมือนหงายของที่คว่ำ

    เปิดของที่ปิดค่ะ

    ความจริงเป็นภาษากฎหมายที่พบเห็นทั่วไปไม่ทำให้งงสักนิดค่ะ

    ผู้ตรวจการคงแค่อยากจะ พ า มึ น เฉยๆ

    ตอบลบ
  6. ชัดเจนแจ่มแจ้งมากค่ะท่านเจ้าคุณเบอร์ลิน

    เหมือนหงายของที่คว่ำ

    เปิดของที่ปิดค่ะ

    ความจริงเป็นภาษากฎหมายที่พบเห็นทั่วไปไม่ทำให้งงสักนิดค่ะ

    ผู้ตรวจการคงแค่อยากจะ พ า มึ น เฉยๆ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. น่าจะโดนล็อบบี้จากพวกนอกศาสนาให้ตีความผิดๆ

      ลบ
    2. น่าจะโดนล็อบบี้จากพวกนอกศาสนาให้ตีความผิดๆ

      ลบ
  7. ชัดเจนครับ เหมือนเปิดของที่หงายให้ หงายหลัง เพราะไม่ได้คว่ำแต่แรกแล้วสาธุครับ

    ตอบลบ
  8. ชัดเจนครับ เหมือนเปิดของที่หงายให้ หงายหลัง เพราะไม่ได้คว่ำแต่แรกแล้วสาธุครับ

    ตอบลบ
  9. พระเดชพระคุณกล่าวถูกต้องตั้งแต่ต้น แต่คนรั้นก็จะรั้นเพราะไม่ถูกใจ ก็พยายามจะตะแบง ยั่วยุ ว่าร้ายเรื่องอื่นที่เรียกว่าแถ แบบไม่มีหลักเกณฑ์ กูจะมั่วนิ่ม อะ ประเภทนี้ น่าส่งสารนะ เพราะทุกสิ่งที่คิด ทุกอย่างที่ทำ ทุกคำที่พูดล้วนมีวิบากกรรมทั้งนั้น นรกมีจริง ปู่ย่าตายาย พระอริยะในอดีตท่านไม่ได้หลอก เชื่อตอนนี้เถอะอย่าไปอยากเห็นตอนตายเลย มันจะไม่ทันการ เจริญพร

    ตอบลบ
  10. หวังว่าคณะผู้ตรวจการคงพิจารณาตนเองให้ถูกต้อง ไม่เฉไฉไปเป็นอื่นอีก ไม่ว่าพวกเขาจะนับถือศาสนาอะไรหรือไม่ ตายไปก็ต้องไปนรกหรือสวรรค์เดียวกัน เพราะกฎแห่งกรรมเป็นหลักสากลไม่มีผู้ใดหลีกเลี่ยงได้

    ตอบลบ
  11. เขาตั้งใจสร้างกรรมค่ะ อยากไปเป็นเปรตเต็มที่แล้ว ใครเตือนอย่างไรก็ไม่ฟัง เขาเลือกทางไปนรกเอง ถ้าบังเอิญได้อ่านตรงนี้ คุณผู้ตรวจการจะเลือกทางเดินใหม่ ยังพอทันนะคะ ยังพอมีโอกาส เลิกทำลายพระพุทธศาสนา เลิกทำลายศรัทธามหาชน เสียเถิด

    ตอบลบ
  12. เวรกรรม ๆ ของคณะผู้ตรวจการแผ่นดินประเทศนี้ ความรู้ก็มาก สุฒิก็มาก หัวหงอกหัวดำก็มาก ชั่งไม่อายเด็กๆ เขาจะคิดอย่างไร หน้าที่ก็ไม่ใช่ คำวินิจฉัยก็ผิดเพี้ยน กรรมคือตัวชี้วัดสิ่งที่ท่านทั้งหลายทำไป ไม่กลัวนรกจริง เล่นกับไฟยังดีกว่าเล่นงานพระสงฆ่ผู้ปฏิบัติดี มีเมตตาสูง ไม่เบียดเบียฬใคร

    ตอบลบ